ทูล ทองใจ
ทูล ทองใจ

ทูล ทองใจ


ทูล ทองใจ ชื่อจริง น้อย ทองใจ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2472 ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นนักร้องเพลงไทยสากลชาวไทย ที่มีฉายาว่า "เจ้าชายแห่งรัตติกาล" และนิคเนม "พ่อระฆังฝังเพชร" เป็นที่รู้จักของแฟนเพลงทั้งประเทศ ตอนหลังย้ายไปอยู่ที่อำเภอแม่กลอง พ่อเป็นชาวจีน “แซ่ทอง” ต่อมาพ่อเปลี่ยนนามสกุลเป็น “ทองใจ”  แม่ชื่อ “นิ่ม  ทองใจ”  มีพี่น้อง  4 คน  ชาย 3  หญิง 1 ทูลเป็นคนที่ 3 แต่พ่อมาตายตั้งแต่ลูกๆยังเล็ก แม่จึงได้แต่งงานใหม่กับพนักงานการรถไฟ และย้ายไปอยู่มหาชัย มีลูกอีกคนเป็นผู้หญิง ทูลได้ช่วยเลี้ยงน้อง และได้ช่วยแม่ขายของ และอีกอาชีพนึงคือหาบน้ำขายทูลจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 ชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก ร้องเพลงประกวดครั้งแรกเมื่ออายุได้ 14 ปี เพลงที่ชื่นชอบเป็นพิเศษในช่วงนั้นคือ “ค่ำแล้วในฤดูหนาว” ของครูล้วน  ควันธรรม  และเพลง “หยาดฟ้ามาดิน”  ของครูสมยศ  ทัศนพันธ์  ประกวดที่ไหนจะนำ 2 เพลงนี้ขึ้นประกวดเสมอ และจะชนะเลิศทุกครั้งไป  จนกรรมการขยาด เขาจึงได้รับเกียรติให้เป็นกรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลงซะเลย นับเป็นกรรมการที่มีอายุน้อยที่สุดด้วยวัยเพียง 19 ปี ทำให้เขาภูมิใจไม่เคยลืม   หลังจากนั้นครูชาญชัย  บัวบังศร แนะนำให้ไปร้องเพลงอยู่ที่ห้องอาหารจังหวัดภูเก็ต   ทนลำบากอยู่หลายปีเหมือนกัน จึงหวลกลับกรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่งความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้องอาชีพเริ่มเป็นจริง  เมื่อได้เข้ารับราชการเป็นทหาร สังกัด  ขส.ทบ. ความสามารถในการร้องเพลง  ทำให้เขาได้เป็นนักร้องประจำวง “ลูกมาตุลี” ซึ่งเป็นวงดนตรีชื่อดังของกรมการขนส่งทหารบกในสมัยนั้น เมื่อออกจากวง “ลูกมาตุลี” ของ ขส.ทบ. ขณะนั้นมียศสิบเอก  ครูสิทธิ์  โมรากรานต์  นำไปพบกับครู “เบญจมินทร์”  ครูเบญจมินทร์แต่งเพลงแรกให้ร้องบันทึกเสียง เมื่อปี พ.ศ. 2499 ในเพลง “พี่ทุยหน้าทื่อ” พอมีคนรู้จักบ้าง นำไปร้องสลับหน้าม่านโรงละครอยู่เป็นปีจนช่ำชอง ตามมาด้วยเพลง "กลิ่นปรางนางหอม" ชื่อเสียงก็กระเตื้องขึ้น จนต่อมาในปี พ.ศ. 2500  หลังจากครูเบญจมินทร์เดินทางกลับจากประเทศเกาหลี จึงได้นำเพลง “โปรดเถิดดวงใจ”  ให้ ทูล   ทองใจ  ขับร้อง เกิดปรากฏการณ์ดังเป็นพลุแตก สร้างชื่อเสียงให้ทูล ทองใจอย่างมากมาย ต่อมาครูเบญจมินทร์แต่งให้ร้องอีกหลายเพลง เช่น ปรารถนา ในฝัน ฯลฯ แต่เนื่องจากครูเบญจมินทร์มีงานล้นมือ ทั้งงานด้านดนตรีและงานภาพยนตร์  จึงฝากทูล  ทองใจ ให้ครูมงคลอุปการะต่อ  และได้ครูไพบูลย์  บุตรขัน  แต่งเพลงให้อีกแรงหนึ่ง  อาทิ เสียงดุเหว่าแว่ว นกเขาขันฉันครวญ รังรักในจินตนาการ ฯลฯ ทำให้ชื่อเสียงของทูล  ทองใจ  โด่งดังคับฟ้าจนดังไปไกลถึงประเทศลาว เป็นดาวค้างฟ้ามาตั้งแต่บัดนั้นทูลเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2538 ด้วยอาการความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก สิริรวมอายุได้ 67 ปีด้วยความรักและแรงศรัทธาของแฟนเพลงที่มีต่อเสียงเพลง จึงได้ร่วมกันสร้างอนุสรณ์ที่ระลึก หุ่นทูล ทองใจขึ้นที่บ้านเกิดสมุทรสงคราม ในท่ายืน มือขวาถือไมค์ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์บ้านดนตรี วัดภุมรินทร์กุฎีทอง ต.สวนหลวง จ.สมุทรสงคราม http://www.watphummarin.com/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%88/

ทูล ทองใจ

อาชีพ นักร้อง
ปีที่แสดง พ.ศ. 2499-2538
คู่สมรส นวลสวาท ชื่นชมบุญ
เกิด 1 มีนาคม พ.ศ. 2472
น้อย ทองใจ
สังกัด วงดนตรีเบญจมินทร์และสหาย,วงดนตรีจุฬารัตน์. วงดนตรีมุกดาพันธ์. วงดนตรีทูลใจ
เสียชีวิต 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 (65 ปี)
วชิรพยาบาล กรุงเทพฯ